วันนี้มีปรัชญาการศึกษาปฐมวัยมาฝากท่านผู้อ่านที่สนใจด้านการรักเด็กค่ะ ผู้เขียนได้เจอเนื้อหานี้ ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษาปฐมวัยบ้างล่ะ จึงได้ขอยืมเนื้อหาบางตอนมา ยังไงลองอ่านกันดูน่ะค่ะ
ในอดีตความหมายของคำว่า “เด็ก” มีแตกต่างกันไปมากมายหลายความหมาย ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับสังคมในยุคสมัยนั้นๆ อาทิ ในสมัยโบราณเด็กจะถูกมองหรือพิจารณาว่าเป็นผู้ใหญ่เมื่ออายุ 7 ขวบ การศึกษาของชาวกรีกและโรมันสมัยก่อนจะมุ่งจัดการศึกษาสำหรับเด็กชายที่มาจากครอบครัวร่ำรวย สำหรับเด็กหญิงหรือเด็กมาจากครอบครัวยากจนจะถูกฝึกให้ทำงานบ้าน การศึกษาจะเริ่มต้นเมื่อเด็กอายุราว 6-7 ขวบ ถึงแม้ว่านักปราชญ์ในสมัยนั้น เช่น อริสโตเติล และพลาโตจะได้กล่าวถึงความจำเป็นของการจัดการศึกษาให้แก่เด็กก่อนหน้านั้นก็ตาม
แนวคิดของนักปรัชญาในแต่ละยุคสมัยที่มีผู้กล่าวถึงและเป็นที่ยอมรับ รวมตลอดถึงมีการนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันมีหลายแนวคิด แต่จะขอเสนอแนวคิดที่สำคัญดังนี้
1. จอห์น อมอส คอมิวนิอุส (John Amos Comenius) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1592 ถึง 1670 คอมมิวนิอุสเป็นนักการศึกษาชาวเชโกสโลวะเกีย เป็นผู้เขียนหนังสือภาพ (picture books) สำหรับเด็กเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า “Orbis Pictus” ซึ่งมีความหมายว่า โลกของรูปภาพ หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือสำหรับครูในการฝึกประสาทสัมผัสและการศึกษาธรรมชาติ คอมมิวนิอุสมีความเชื่อว่า การศุกษาควรเป็นไปตามลำดับขั้นของธรรมชาติ ครูจำเป็นต้องสังเกตลำดับขั้นตอนตามธรรมชาติดังกล่าวและจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก แนวคิดของคอมมิวนิอุสสะท้อนให้เห็นในลำดับขั้นพัฒนาการของเปียเจท์และมอนเตสเซอรี่ หรือในปัจจุบันที่เราอ้างถึงในเรื่องของความพร้อมทางการเรียน (school readiness)
นอกจากนั้นคอมมิวนิอุสยังมุ่งเน้ความคิดรวบยอดพื้นฐานที่เราพูดถึงเสมอ ๆ ในปัจจุบัน คือ “การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ” (learning by doing) คอมมิวนิอุสพยายามส่งเสริมพ่อแม่ ผู้ปกครองเปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการปฏิรูปสังคมที่ให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนยากจนเช่นเดียวกับคนร่ำรวย กล่าวโดยสรุป คอมมิวนิอุสได้มีบทบาทที่สำคัญมากทางการศึกษา 3 ประการ คือ เป็นผู้เขียนหนังสือที่มีรูปภาพประกอบเป็นคนแรก จัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นที่ประสาทสัมผัส (education with the senses) และเป็นผู้ที่ริเริ่มการปฏิรูปทางสังคมด้านการศึกษา
2. จอห์น ล็อค (John Lock) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1632 ถึง 1741 จอห์น ล็อค ถือเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากทฤษฎีทางการศึกษาของเขามีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาจิตใจ และการเรียนรู้ ล็อค มีความเชื่อว่า เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด (clean slate) เด็กจะเติบโตเป็นบุคคลเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ สังคม การศึกษา และโลกรอบตัว จอห์น ล็อคเป็นนักการศึกษาชาวยุโรปในยุคแรกที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
ล็อคเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการพยายามทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล กล่าวโดยสรุป บทบาทที่สำคัญของจอห์น ล็อคด้านการศึกษาคือ การจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก การอธิบายเหตุผลแก่เด็กในการเรยนรู้ และบทบาทของสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาเด็ก
3. ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1712 ถึง 1778 รุสโซเกิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส รุสโซมีความเชื่อว่า เด็กเกิดมาพร้อมกับแนวโน้มที่จะเป็นคนดี เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อม เด็กควรเติบโตไปตามธรรมชาติ แต่สังคมเป็นผู้ทำลายเด็ก รุสโซมีชื่อเสียงมาจากงานเขียนที่ชื่อว่า “เอมิล” (Emile) ซึ่งกล่าวถึงวิธีการเลี้ยงดูเด็กแบบธรรมชาติ รุสโซเสนอแนะว่า การศึกษาควรสะท้อนความดีงามตามธรรมชาติของเด็ก และบรรยากาศการเรียนการสอนควรยืดหยุ่นได้โดยคำนึงถึงความต้องการ และความสนใจของเด็กเป็นหลัก นอกจากนั้น วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเด็กเล็กควรเป็นรูปธรรม
ถึงแม้ว่างานของรุสโซโดยส่วนใหญ่เน้นหนักไปที่การปฏิรู)ความคิดทางสังคมด้านการศึกษา แต่งานของรุสโซก็มีอิทธิพลอย่างสูงต่อโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยเฉพาะในส่วนที่มีความเกี่ยวพันกับลำดับขั้นพัฒนาการ และลำดับขั้นการเรียนรู้ รวมตลอดถึงการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อม
แนวคิดของรุสโซมีอิทธิพลต่อนักการศึกษาในยุคต่อมา เช่น เปสตาลอสซี่ ฟรอเบล และมอสเตสเซอรี่ กล่าวโดยสรุป แนวคิดของรุสโซที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาปฐมวัยในยุคปัจจุบัน ได้แก่ การส่งเสริมให้เด็กเล่นเสรี (free play) ซึ่งมาจากแนวความคิดของรุสโซที่ว่า เด็กโดยธรรมชาติแล้วเป็นคนดี และมีความสามารถที่จะเลือกสิ่งที่ตนต้องการที่จะเรียนรู้การจัดสิ่งแวดล้อมที่มุ่งให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนควบคุมตนเอง รวมตลอดถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนควรเป็นรูปธรรม
4. โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1746 ถึง 1827 เปสตาลอซซี่เป็นนักการศึกษาชาวอิตาเลี่ยน-สวิส ซึ่งทฤษฎีทางการศึกษาที่คิดนั้นได้กลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เปสตาลอซซี่ได้รับอิทธิพลด้านความคิดจากรุสโซ เปสตาลอซซี่เชื่อว่า การศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ มีแนวคิดจากรุสโซตรงที่มุ่งเน้นการสอนเด็กเป็นกลุ่มมากกว่าการสอนเด็กเป็นรายบุคคล
นอกจากนั้น เปสตาลอซซี่ยังเป็นต้นความคิดในเรื่องการเตรียมความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาและประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตนเอง เปสตาลอสซี่ได้เขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และลูก เช่น “เกอร์ทรูดสอนลูกอย่างไร” (How Gertrude Teaches Her Children) และ “หนังสือสำหรับแม่” (Books for Mothers) และได้ออกแบบหลักสูตรชื่อ “ปาปา” (Papa) สำหรับลูกของตน ซึ่งจะให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
5. เฟรดเดริค ฟรอเบล (Friedrich Froebel) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1782 ถึง 1852 ฟรอเบลเคยศึกษากับเปสตาลอสซี่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของการอนุบาลศึกษา” ฟรอเบลเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากผู้หนึ่งต่อการศึกษาปฐมวัยโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการเรียนรู้ หลูกสูตร และการฝึกหัดครู นอกจากนั้นฟรอเบลยังเป็นบุคคลแรกที่ได้ออกแบบหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะ หลักสูตรของฟรอเบลเน้นความสำคัญของการเล่น และการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ฟรอเบลมีความเชื่อว่าเด็กเล็กๆ เกิดมาพร้อมกับความรู้และทักษะที่สะสมอยู่ภายใน หน้าที่ที่สำคัญของครู คือ การพยายามดึงความสามารถที่มีอยู่ภายในของเด็กออกมา และช่วยให้เด็กตระหนักถึงความสามารถของตนเอง
หลักสูตรอนุบาลศึกษาของฟรอเบลประกอบด้วยชุดของขวัญ (gifts) และชุดอาชีพ (occupations) ซึ่งออกแบบมาสำหรับพัฒนาการเรียนรู้โดยการสัมผัส ชุดของขวัญประกอบด้วยไหมพรม ไม้บล็อก วัสดุจากธรรมชาติ รปทรงเรขาคณิต ส่วนชดอาชีพประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ อันได้แก่ การปั้น การตัด การพับ การร้อยลูกปัด และการเย็บปัก นอกจากนั้นกิจกรรมดนตรี ศิลปะและกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น การทำสวน การดูแลสัตว์ จะถูกบรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของเด็กนอกเหนือจากการใช้ชุดของขวัญและชุดอาชีพ
แนวคิดในเรื่อง “การเล่น” ของเฟรเบลแตกต่างจากแนวคิดในเรื่อง “การเล่น” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ฟรอเบลมองการเล่นว่าเป็นกระบวนการที่ครูเป็นผู้ชี้แนะ (teacher-directed process) เป็นการเล่นเลียนแบบธรรมชาติ และเกิดขึ้นในหน่วยการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามฟรอเบลก็ยอมรับแนวคิดของการเล่นในรูปแบบที่เด็กเป็นผู้คิดขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
6. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1859 ถึง 1952 ดิวอี้เป็นนักศึกษาชาวอเมริกันที่ต่อต้านการเรียนการสอนแบบเก่าที่เน้นการเรียนแบบท่องจำ และอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของครู จอห์น ดิวอี้ถือเป็นผู้นำของแนวคิดการศึกษาแบบก้าวหน้า (progressive education) ดิวอี้มีความเชื่อว่า เด็กเรียนรู้จากประสบการตรง การศึกษาควรมีความสัมพันธ์กับชีวิตปัจจุบันของเด็ก ดิวอี้เน้นความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังในระบอบประชาธิปไตย การสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงความสนใจและความสามารถของเด็ก หลักสูตรควรมีลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก บทบาทของครู คือเป็นผู้จัดเตรียมประสบการณ์ สภาพแวดล้อมให้กับเด็ฏเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ หรือมีประสบการณ์ด้วยตนเอง เด็กควรมีเสรีภาพในด้านการคิด การแสดงออก โดยครูจะเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริมและวางแนวทางที่เหมาะสมแก้เด็กอย่างต่อเนื่องกันไป ดิวอี้ไม่เห็นด้วยกับบทบาทที่จะต้องให้นักเรียนเป็นฝ่ายรับ และครจะต้องเป็นผู้สอนอยู่ตลอดเวลา
7. มาเรีย มอนเตสเซอรี่ (Maria Montessori) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1870 ถึง 1952 ดร.มาเรีย มอนเตสเซอรี่เป็นแพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาเลียน ผู้คิดการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ขึ้นครั้งแรกโดยเริ่มจากการทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาทำให้ค้นพบว่าเด็กต้องการการกระตุ้นและการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มอนเตสเซอรี่จึงคิดหาวิธีการที่จะช่วยเด็กให้มีพัฒนาการทางสติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาการสอนสำหรับเด็กปกติด้วย โดยได้เปิดรางเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนขึ้นในปีค.ศ. 1907 วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องเรียนของมอนเตสเซอรี่ เช่น โต๊ะและเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับตัวเด็ก อุปกรณ์ในการเรียนรู้จะมีหลากหลาย และเป็นลำดับขั้นตอน ทั้งนี้เพราะมอนเตสเซอรี่เชื่อว่า งานใดๆ ก็ตามสามารถแบ่งเป็นลำดับขั้นย่อยๆ ได้ และโดยอาศัยกระบวนการดังกล่าว เด็กสามารถเรียนรู้ที่จะกวาดพื้นและแต่งตัวได้ด้วยตนเอง หลักสูตรของมอนเตสเซอรี่จะให้ความสำคัญกับการศึกษาทางด้านสัมผัส (education of the senses) เพราะถือว่าเป็นรากฐานของพัฒนาการทางสติปัญญา นอกจากนั้น มอนเตสเซอรี่ยังให้ความสำคัญกับสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน
เป็นอย่างไรบ้างค่ะสำหรับปรัชญาการศึกษาปฐมวัยที่นำมาฝากกัน หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับสาระประโยชน์บ้างน่ะค่ะ
ต้องขอขอบคุณเนื้อหาจาก
นภเนตร ธรรมบวร. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
ให้ปัญญาย่อมได้ปัญญา ความคิดเห็นย่อมมีแตกต่างอย่างแน่นอนจะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง
ตอบลบละเอียดีค่ะ
ตอบลบTitanium Water Bottle - www.tinostart.com - Tisanium Artisan Glasses - Tisanium Artisan
ตอบลบTisanium titanium metal Artisan Glasses - Tisanium Artisan Glasses - Tisanium Artisan harbor freight titanium welder Glasses - Tisanium Artisan Glasses - Tisanium Artisan Glasses titanium jewelry for piercings - Tisanium Artisan 2018 ford ecosport titanium Glasses - Tisanium Artisan Glasses - Tisanium Rating: 4.9 · 3 votes · $2.99 · titanium 3d printing Out of stock